หลักสูตรการคุมสีบนสตรีทแบบเบื้องต้น

(บทความนี้มีอ้างอิงจาก Street Photography Composition Lesson #12: Color Theory ของ Eric Kim และ website ต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่อง Color Theory)

เทคนิคในการcomposeภาพที่มักจะถูกมองข้ามหรือคิดไม่ถึงอย่างนึงคือการคุมโทนของรูปสี คนที่ถ่ายขาวดําแล้วเปลี่ยนมาถ่ายสีนี้จะรู้เลยว่าขาวดำคุมง่ายกว่าหน่อย มีแค่ขาวกับดํา เชดสีเทากลางๆไม่ต้องคิดเยอะ ถ้าจับ figure to ground (ดําบนขาว ขาวบนดํา) ได้รูปก็เอาอยู่ 

เปลี่ยนเป็นสีดูบ้าง

แต่พอมาเรื่องรูปสีนี้เข้าใจเลยว่ายากจริงๆ ตอนนี้มีสีหลากหลายมากมายยังกับเข้าร้าน TOA (ไม่ได้มีใครมาจ้างโฆษณานะครับ) ยิ่งบ้านเรา ไม่ต้องพูดถึงเลย ไม่มีใครคุม ใครอยากทาสีตึกหรือบ้านตัวเองแบบไหนก็ลุยกันเข้าไป เสื้อผ้าแฟชั่นก็หลากหลายเหมือนกัน มีทุกแบบบนถนนเรา รถราไม่ต้องคุยกัน แท็กซี่อย่างเดียวก็กินไปครบแม่สีละ แต่พอถ่ายไปก็มาเจอว่าความสำคัญของมันนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะสีสามารถสื่ออารมณ์ ยิ่งเอามาใช้บนรูปก็จะทําให้รูปมีพลังมากขึ้นตามไปด้วย

แล้วทํายังไงละถึงจะคุมได้ในรูปเรา

Photoshop ไงครับ ... 

อ้อไม่ใช่ ผิดเจตนารมณ์สตรีทนะนั้น อย่าไปเริ่มใช้เดี๋ยวติด ติดแล้วเลิกยากกว่าแป็บซี่ การคุมสีไม่มีคําตอบง่ายๆครับโดยเฉพาะในการถ่ายสตรีทเพราะมันต้องใช้ดวงเยอะเหมือนกัน แต่มันก็มีวิธีการคิดที่ทําให้มันดูง่ายขึ้น ก่อนอื่นเราต้องทําความเข้าใจก่อนว่าสีถึงแม้จะมีเยอะแต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันแบ่งพวกไม่ได้ สีหลักๆมีสีร้อนกับสีเย็น พอพูดแค่นี้คงเริ่มจะมองออกบ้าง ไม่ต้องคิดเยอะ ดูอะไรแล้วรู้สึกร้อนนั้นคือสีร้อน ดูแล้วเย็นนั้นคือสีเย็น ถ้าดูไม่ออกจริงๆก็ดู color wheel ที่แนบมาเอาเป็นไกด์ นอกจากนั้นสีก็มีเชด สีสด สีไม่สด สีสว่าง สีมืด พอเริ่มเข้าใจแล้วก็เริ่มสังเกตแบบนี้ครับ ว่ารอบตัวเราในทุกขณะมีสีประมาณไหนอยู่บ้างแล้วเริ่มมองว่าจะใช้มันยังไง

 Cool/Warm Colour Chart (from Desktop Publishing)

 Cool/Warm Colour Chart (from Desktop Publishing)

เอ...แต่กรุงเทพมีแต่สีเทานิ! 

อันนี้ปัญหาใหญ่เลยครับ สีที่ถ่ายยากสุดคือสีคอนกรีต เพราะมันไม่ให้อารมณ์อะไรซะเลย เราถึงเห็นคนถ่ายรูปที่ใช้สีในไทยเราเป็นองค์ประกอบน้อยเทียบกับประเทศอื่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะทําไม่ได้เลยซะทีเดียว เพราะถ้าเราเริ่มเข้าใจแล้วเริ่มสังเกตมันก็จะค่อยๆมองออกแล้วแกะออกมาเหมือน jigsaw ผืนนึง

เข้าใจอย่างเดียวไม่พอต้องใช้ให้เป็นด้วย

ตอนนี้ละตอนสนุกเลย พอเข้าใจกลุ่มของสีแล้วเราต้องเริ่มคิดว่าจะใช้มันยังไง วิธีการใช้มีหลายวิธีอยู่ (ตัวอย่างของแต่ละแบบดูด้านล่างสุดนะครับ)

  1. ถ้าเอาหลักสูตร figure to ground มาใช้ ก็เล่นง่ายๆเลย เอาสีร้อนเป็น subject เอาสีเย็นเป็น background หรือสลับกัน แค่นี้ก็จะได้รูปที่ดูแล้วมันชัดเจนถึงการใช้สีให้เกิด contrast เหมือนเล่นภาพขาวดำ
  2. ใช้สีเดียวเป็นหลัก อาจจะหลายเชดได้เพื่อให้เกิดมิติของภาพ เจอกําแพงแดงก็เอาคนชุดแดงมาอยู่ในรูป หรือถ่ายเป็น silhouette ไปเพื่อให้เป็นดําตัดแดง หรือเอาคนแต่งตัวคล้ายๆกันมาอยู่ในรูปเดียวกัน
  3. ใช้สีโทนเดียวๆกัน โทนเย็นทั้งหมด หรือ โทนร้อนทั้งหมด ก็จะรูปที่ดูแล้วสบายตาไปอีกแบบแล้วสื่ออารมณ์ได้ดี
  4. เล่นหลายสี อันนี้ต้องความสามารถกําลังภายในสูง การเล่นหลายสีเกิดความเสี่ยงในการที่รูปจะดูแล้วรกตามากกว่าสบายตาแต่ตัดกันดีๆมันก็จะสนุกไปอีกแบบ
  5. ใน blog ของ Eric Kim ก็มีเขียนคําแนะการใช้ "complimentary colour" แล้วก็ "analogous colour" ไว้ด้วย ซึ่งก็เป็นไอเดียที่ดีมากๆแต่จะหายากหน่อยถ้าจะเอาให้เป็ะ หลักสูตรของการใช้สี complimentary colour คือเอาสีอยู่ตรงข้ามกันมาใช้เป็น subject กับ background - จะทําให้เกิด contrast สูงสุด ในขณะที่ analogous colour คือ การเอาสีใกล้เคียงกันมาใช้เพื่อให้รูปดูสบายๆ อันนี้จะละเอียดแล้วก็ใช้ยากหน่อย ส่วนตัวผมว่าเริ่มจากการมองกว้างๆก่อนก็ดี เอาให้เริ่มถนัดตาก่อนแล้วค่อยเพิ่มความยากเข้าไป ถ้าไปดูงานของ Steve McCurry จะเจอว่าเค้าใช้ complimentary colour ค่อนข้างบ่อยเลย
   Complimentary Colour (from Desktop Publishing)

   Complimentary Colour (from Desktop Publishing)

      Analogous Colour         (from Desktop Publishing)

      Analogous Colour         (from Desktop Publishing)

*คําแนะนําคือใช้สีจํานวนให้น้อยแต่ให้เต็มเฟรมมากที่สุดที่จะทําไดัเพื่อเพิ่มความมีพลังให้สีที่ใช้*

แล้วถ้าหาสีให้เต็มภาพไม่ได้ละ?

ก็เอาแค่ให้เป็นส่วนใหญ่ของภาพก่อนก็ได้ครับ ยิ่งมีความชัดเจนเท่าไรมันก็จะ impact พาคนดูไปในทางที่เรานําไป ถ่ายสตรีทมันยากครับ มันถึงสนุก แต่ไม่ได้แปลว่าต้องดี100%ถึงจะถ่ายได้ บางทีเริ่มๆไปก่อนก็เหมือนเป็นการซ้อมการดูเราไปด้วย 

ฟังดูยากอะ แล้วเริ่มไงละ?

บอกได้เลยว่าเราถ่ายสตรีทเพราะฉะนั้นดวงดีนี้สำคัญมากๆ บางทีถ่ายไปแล้วพึ่งมาเห็นตอนหลังก็มีเพราะตอนถ่ายคิดไม่ทัน กดไว้ก่อนเดี๋ยวไม่ได้รูป แต่ถ้าอยากจะใช้สีจริงๆก็สามารถเริ่มจากจุดเล็กๆได้ 

  1. ตัวอย่างเช่นก่อนออกจากบ้านเลือกสีไปก่อนเลย วันนี้จะถ่ายแต่สีแดง มองสีแดงสัก30วินาทีก่อนออก แล้วลุย กลับมาบ้านค่อยมาดูรูปว่าแดงที่ได้มาทําให้รูปดูเด่นขึ้นมั้ย แดงโดนขัดกับอะไรบ้าง มีสีอื่นเข้าแทรกรึปล่าว แล้วทําให้รูปดูเสียหายหรือดูดีขึ้น 
  2. หาฉากใหญ่ๆที่เป็นสีหลักของรูป แล้วหา subject มาเสริมที่เป็นสีตัด ตัวอย่างเช่นเดินถ่ายทะเล สีหลักคือสีฟ้า ถ้าเราเอาคนที่ใส่เสื้อสีร้อนๆมายืนเค้าก็จะเด่นขึ้นมา หรือถ้าเอาคนใส่เสื้อสีโทนเย็นรูปก็ดูซอฟท์ๆสบายตา 
  3. หาสีซ้ำ อันนี้จะง่ายหน่อยถ้าเริ่มจากหาคนแต่งตัวคล้ายกันหรือเป็น uniform
  4. ดูรูปคนอื่นเยอะๆ หาครับ ช่างกล้องที่ใช้สีเป็นส่วนนึงของการ compose ภาพหลักๆก็มี Alex Webb, Harry Gruyaert, Saul Leiter, Gueorgui Pinkhassov, Steve McCurry, William Eggleston วันนี้พอเข้าใจการใช้สีแล้วลองกับไปดูงานเค้าใหม่ จับทางได้มั้ยว่าแต่ละรูปเค้าใช้กี่สี ใช้ยังไง มุมมองเราก็จะขยายตามไปด้วย 

อันนี้แค่เรื่องสีนะครับ ขั้นต่อๆไปก็คือเอาการหาสีมาใช้กับ composition อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การมาประกอบกับสีอื่น, repetition, layer, หาเส้นนําภาพ, ใช้แสงช่วย, หรือ ประกอบกับ gesture ของคน ยิ่งรวมกันมากเท่าไรก็ยิ่งดู complex มากขึ้นเท่านั้น แต่เป็นองค์ประกอบนึงที่ไม่ควรมองข้ามเลยในการถ่าย ถ้าไม่เอาไปใช้จริงหรือฝึกจริงมันก็จะไม่เห็นผล คราวหน้าที่ได้โอกาศสอนก็อยากจะเอาเรื่องนี้ขึ้นมาคุยเป็นหนึ่ง topic ใหญ่ไปเลยเพราะเรื่องนี้สอนกันได้3วัน3คืน ยิ่งถ้ามาเดินหาด้วยกันนี่สนุกเลยช่วยกันหาแล้วดูว่าจัดเฟรมยังไงเพราะมันมีละเอียดกว่านี้อีกเยอะเลยเมื่อเอาไปรวมกับเรื่องอื่นๆ


ตัวอย่างภาพ

แดงเจอฟ้า ร้อนเจอเย็น ทําอะไรได้เยอะแยะ:

Rammy Narula

Rammy Narula

Tavepong Pratoomwong

Tavepong Pratoomwong

Harry Gruyaert

Harry Gruyaert

Harry Gruyaert

Harry Gruyaert

Rammy Narula

Rammy Narula

ฟ้าเจอเหลือง เย็นเจอร้อน

Victor M Perez

Victor M Perez

Ilan Ben Yehuda

Ilan Ben Yehuda

Artyt Lerdrakmongkol

Artyt Lerdrakmongkol

เล่นเชดสี คุมโทน

Md Enamul Kabir

Md Enamul Kabir

Rammy Narula

Rammy Narula

เขียวแดงก็เล่นได้

Forrest Walker

Forrest Walker

ถ้าคิดไม่ออกก็เก็บสีเดียวเลย 

Rammy Narula

Rammy Narula

Kristian Leven

Kristian Leven